เรียบเรียงโดย กลุ่มวิชาการ สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย


การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นที่เมืองเสียมราฎ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่  1-5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 โดยมีผู้ร่วมประชุมจาก ASEAN Secretary และสมาชิกจากภาครัฐ  10 ประเทศ คือ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย  เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  ไทย เวียดนาม รวมทั้งตัวแทนจากสมาคมเครื่องสำอางอาเซียน หรือ ASEAN Cosmetic Association (ACA) และผู้ประกอบการจากหลายประเทศเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ หัวข้อที่พิจารณากันในที่ประชุมสรุปได้ดังนี้


1.    Methyl Isothiazolinone (MIT)  (EC No. 2016/1198)  ในตารางที่ 1  EU ได้กำหนดให้ใช้ Methyl Isothiazolinone (MIT) ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้แล้วล้างออก ไม่เกิน 0.01% หรือ 100 ppm ในการประชุม ACSB ครั้งที่ 22 ทุกประเทศมีมติตาม EU ที่ 100 ppm ยกเว้นอินโดนีเซียที่กำหนดให้ไม่เกิน  15 ppm ในการประชุมครั้งที่ 26 นี้ ตามรายงานด้านความปลอดภัย ของ SCCS การใช้ Methyl Isothiazolinone (MIT)  ที่ 100 ppm มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการระคายเคืองทางผิวหนังได้ โดยปริมาณการใช้ที่ 15 ppm นั้นมีความปลอดภัย ทางที่ประชุมจึงแจ้งในทาง ASEAN Cosmetic Association ส่งข้อมูลให้กับสมาชิกเพื่อเตรียมการปรับตัวโดยสมัครใจที่จะลดปริมาณการใช้  Methyl Isothiazolinone (MIT) ไม่ให้เกิน 15 ppm อย่างไรก็ตามทางที่ประชุมให้รอประกาศอย่างเป็นทางการจาก EU เพื่อพิจารณาต่อไป 

ตารางที่ 1



2.    Zinc Oxide and Zinc Oxide (nano) (EC no. 2016/621), Titanium Dioxide and Titanium Dioxide (nano) (EC no. 2016/621)  EU ได้กำหนดปริมาณการใช้และเงื่อนไขเพิ่มเติมสําหรับ zinc oxide และ Titanium Dioxide ที่เป็น nano particle ซึ่งที่ประชุม ASEAN ครั้งที่ 22 ได้มีการตกลงให้มีการจัดตั้ง Task force ประกอบด้วย ACA, มาเลเซียและไทย ในการประชุมครั้งนี้ ACA อธิบายถึงการประเมินความปลอดภัยทำแยกกันระหว่าง Nano powder และ Coating Agent เพราะว่าทั้งสองสารนี้ไม่ทำปฏิกิริยาต่อกัน ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เปลี่ยนข้อความในส่วนของ  Coating agent จากการระบุเพียงบางสารเป็น “Coating materials can be used that have been demonstrated to be safe and not to affect the nanoparticle properties related to the behavior and/or effects” ผู้ประกอบการที่ใช้ Coating agent ที่ความความปลอดภัยและไม่ทำปฎิกิริยากันสามารถใช้ได้ในผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด

ตารางที่ 2




3.    Benzophenone-3 (EC No. 2017/238) ในตารางที่ 4  EU ได้แก้ไขตารางสารป้องกันแสงแดด โดยลดปริมาณการใช้จาก 10 % เหลือ 6% โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบและมีระยะเวลาเตรียมการถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2561 ให้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดเป็นไปตามข้อกำหนดนี้
ตารางที่ 4


4.    Plastic Microbeads
ที่ประชุมมีความเห็นให้ภาคอุตสาหกรรมยกเลิกการใช้ Plastic Microbeads โดยสมัครใจในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้แล้วล้างออกเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และASEAN Cosmetic Association ได้แจ้งให้สมาชิกทราบแล้วเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ Plastic Microbeads ไม่ได้มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการใช้ของผู้บริโภค
การประชุมครั้งถัดไป ครั้งที่ 27 จะจัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งทางสมาคมจะแจ้งความคืบหน้าในสมาชิกได้ทราบต่อไป                                                                                              

เอกสารแนบ : ASEAN Cosmetic Association - Recommendation