“พาณิชย์”พาเจาะตลาดเครื่องสำอางในUAEเน้นสินค้าสมุนไพรมาแรง
https://www.thansettakij.com/business/economy/573909
“พาณิชย์”เจาะตลาดเครื่องสำอาง ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประตูสู่ตะวันออกกลาง สินค้าสมุนไพรไทยมีโอกาสส่งออกเพิ่ม
นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตลาดสินค้าเครื่องสำอางในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีศักยภาพ และเป็นโอกาสของผู้ส่งออกไทยในการขยายการค้ามายังประเทศนี้ รวมทั้งเป็นตลาดส่งออกต่อไปประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา โดยในภาพรวมผู้หญิงอาหรับให้ความสำคัญกับสินค้าเครื่องสำอาง
สินค้าไทยที่มีแนวโน้มเจาะตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้มากขึ้น คือ เครื่องสำอางประเภทสารสกัดจากธรรมชาติ ที่มีส่วนผสมของสมุนไพร เนื่องจากมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างจากสินค้าของประเทศอื่นๆ
“เครื่องสำอางไทย”ยืนหนึ่ง ครองใจตลาด FTAลุยเปิดตลาดเพิ่ม
https://www.thansettakij.com/business/economy/573206
พาณิชย์ ชี้สินค้าเครื่องสำอางมาแรง ส่งออกไปตลาดคู่ FTA ช่วงครึ่งปีแรก มูลค่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โต 4% ตลาดอินเดียเติบโตสุด ตามด้วยจีน เกาหลีใต้ และอาเซียน ลุยดันคู่ค้า FTA เปิดตลาดสินค้าเครื่องสำอางให้ไทยเพิ่ม
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้ติดตามสถานการณ์การส่งออกสินค้าของไทย พบว่า สินค้าเครื่องสำอางเป็นหนึ่งในสินค้ายอดนิยม และหลังจากสถานการณ์ของโควิดคลี่คลาย ตลาดเครื่องสำอางยังฟื้นตัวเร็ว สอดคล้องกับสถิติการส่งออกสินค้าเครื่องสำอางของไทยที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 อัตราการเติบโต 2% และในปี 2565 อัตราการเติบโต 7%
ประชาสัมพันธ์กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ฯ ใหม่ จำนวน 3 ฉบับ
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ฯ ใหม่ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่
1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง พ.ศ. 25866
2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดวัตถุกันเสียที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566
3. ประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่องการแสดงคำเตือนที่ฉลากเครื่องสำอางที่มีวัตถุกันเสีย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566
ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไปนั้น
ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย จึงขอประชาสัมพันธ์ประกาศดังกล่าว โดยสามารถดาวน์โหลดได้ตามลิงก์ที่ประกาศด้านบน (คลิกที่ชื่อประกาศ)
Clean Beauty ความงามหลังโควิดตอบโจทย์เทรนด์รักษ์โลก
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล 9 กรกฏาคม 2566
https://www.thansettakij.com/business/marketing/570264

ตลาดเครื่องสำอางทั่วโลกหลังโควิดฟื้นตัวแรงคาด ปี 2573 ภาพรวมตลาดเครื่องสำอางทั่วโลกมูลค่าแตะ 12.38 ล้านล้านบาท ขณะที่ไทยไม่น้อยหน้าคาดมูลค่าไต่ขึ้นไปแตะระดับ 3.23 แสนล้านบาทในปี 2573 โดย Clean Beauty เป็นกลุ่มเครื่องสำอางที่น่าจับตามองตามกระแสรักษ์โลก
ตลาดเครื่องสำอางทั่วโลกจะฟื้นตัวได้เร็วตามค่านิยมของผู้บริโภคที่ต้องการเสริมภาพลักษณ์ให้ดูดีขึ้น โดยมีปัจจัยหนุนจากเปิดประเทศของหลายประเทศทั่วโลกหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทุเลาลง โดยคาดว่า ในปี 2573 ภาพรวมตลาดเครื่องสำอางทั่วโลกจะมีมูลค่าขึ้นไปแตะระดับ 3.64 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 12.38 ล้านล้านบาท เติบโตเฉลี่ยปีละ 4.2%
ขณะที่ตลาดเครื่องสำอางของไทย จะมีมูลค่ากว่า 3.23 แสนล้านบาทในปี 2573 เติบโตเฉลี่ยปีละ 5.0% เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ประมาณ 1.5 เท่า จากกลุ่มลูกค้าชาวไทยที่กลับมาใช้ชีวิตตามปกติมากขึ้น ขณะที่กำลังซื้อจากนักท่องเที่ยวต่างชาติจะทยอยกลับมาตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทย
ตลาดความงาม รีเทิร์น เพียวสกินแคร์ ออแกนิกส์โตแรง รับเทรนด์ Green Beauty
ที่มา : หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศราฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,878 วันที่ 13 - 15 เมษายน พ.ศ. 2566
https://www.thansettakij.com/business/marketing/561999
เปิดประเทศ-เปิดหน้ากาก ปลุกตลาดความงามคึกคัก เมคอัพฟื้นเบียดสกินแคร์ จับตาผู้เล่นสปีดลงทุน นำเข้าแบรนด์ชั้นนำดันเพียวสกินแคร์ ออแกนิกส์ รับเทรนด์ Green Beauty มาแรง
3 เมกะเทรนด์ เปลี่ยนตลาด ‘เครื่องสำอาง’ สร้างโอกาสผู้เล่นไทย ชิงแชร์ 3 แสนล้าน
หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,833 วันที่ 6 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
ตลาดเครื่องสำอาง 3 แสนล้าน ส่งสัญญาณฟื้นตัว ผู้เล่นหน้าใหม่ตบเท้าชิงส่วนแบ่งตลาด ชี้ 3 เมกะเทรนด์ “Clean beauty-Skinimalism-Smart packaging” วอนรัฐชิงโอกาสจีนปิดประเทศล็อกการส่งออก หนุนผู้ประกอบการไทย เร่งส่งออกแทนที่
ภาพรวมตลาดเครื่องสำอางและความงามของไทยในช่วงปี 2563 ก่อนวิกฤติโควิด-19 พบว่ามีมูลค่าตลาดสูงถึง 3 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการบริโภคในประเทศราว 1.8 แสนล้านบาท และการส่งออก 1.2 แสนล้านบาท ข้อมูลจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ยังพบว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว ทำให้การส่งออกสินค้าเครื่องสำอางไปยัง 18 ประเทศคู่ค้าเอฟทีเอ มูลค่า 2,445 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 10% จากปี 2562
8เดือนไทยส่งออกเครื่องสำอางพุ่ง8% ตลาดอาเซียนครองแชมป์
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล 21 ต.ค. 2565 เวลา 10:58 น.
8เดือนไทยส่งออกเครื่องสำอางพุ่ง8% มูลค่า 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โต 8% ตลาดอาเซียน ครองอันดับ 1 รองลงมา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง ผลิตภัณฑ์เส้นผม บำรุงผิว สบู่ น้ำหอม เติบโตดี
สำหรับในช่วง 8 เดือน (ม.ค. – ส.ค. 2565) ไทยส่งออกสินค้าเครื่องสำอางสู่ตลาดโลก มูลค่า 2,203 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (+ 11%) จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยส่งออกเครื่องสำอางไป 18 ประเทศคู่ FTA มูลค่ากว่า 1,795 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (+8%) ซึ่งสัดส่วนการส่งออกสินค้าเครื่องสำอางไปประเทศคู่ FTA สูงถึง 81.5% ของการส่งออกเครื่องสำอางทั้งหมด
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตลาดส่งออกสำคัญของสินค้าเครื่องสำอาง พบว่า ล้วนเป็นประเทศคู่ค้าที่ไทยมี FTA ด้วย โดยอาเซียนเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 1 ครองสัดส่วน 45% ของการส่งออกเครื่องสำอางทั้งหมด สำหรับตลาดส่งออกหลัก คือ อาเซียน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง และจีน โดยในช่วงเดือน ม.ค. – ส.ค. 2565
ตลาดที่การส่งออกขยายตัวได้ดี อาทิ อาเซียน (+12%) ออสเตรเลีย (+18%) จีน (+16%) เกาหลีใต้ (+22%) และอินเดีย (+23%) ส่วนสินค้าที่ขยายตัวได้ดี อาทิ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเส้นผม (+6%) ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แต่งหน้าและบำรุงผิว (+6%) สบู่ (+12%) สิ่งปรุงแต่งที่ใช้โกนหนวดและดับกลิ่นตัว (+2%) น้ำหอมและหัวน้ำหอม (+331%) และวัตถุดิบที่ใช้ทำเครื่องสำอาง (+11%)
“ความตกลงFTA เป็นเครื่องมือสำคัญที่ส่งเสริมการส่งออกสินค้าเครื่องสำอางของไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง และช่วยขจัดอุปสรรคภาษีนำเข้าในประเทศคู่ค้า ซึ่งปัจจุบันสินค้าเครื่องสำอางของไทยทุกรายการ ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้ากับคู่ FTA 14 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และฮ่องกง ส่วนอีก 4 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ อินเดีย ชิลี และเปรู ยังคงเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเครื่องสำอางในบางรายการ สำหรับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เกาหลีใต้จะทยอยลดภาษีสบู่เหลวจนเหลือศูนย์ในปี 2579 ส่วนสบู่ก้อนและแชมพูจะทยอยลดภาษีจนเหลือศูนย์ ในปี 2584”
อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้บริโภคนิยมเข้าคลินิกเสริมความงามเพิ่มขึ้น เน้นการรักษาผิวพรรณด้วยการทำหัตถการลดเลือนริ้วรอย อาทิ โบท็อกซ์ (Botulinum toxin type A) และฟิลเลอร์ ซึ่งส่วนใหญ่ไทยจะนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ โดยไทยได้กำหนดอัตราภาษีศุลกากรทั่วไปในสินค้ากลุ่มสารลดเลือนริ้วรอยที่อัตรา 10% แต่หากเป็นการนำเข้าจากประเทศที่ไทยมี FTA ด้วย อาทิ เกาหลีใต้ จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยไม่เก็บภาษีนำเข้าสินค้าสารลดเลือนริ้วรอยจาก 16 ประเทศคู่ FTA แล้ว ยกเว้นอินเดีย และฮ่องกง ที่ไทยลดภาษีนำเข้าเหลือที่อัตรา 5% และ 7% ตามลำดับ ซึ่งจากศักยภาพที่แข็งแกร่งของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย และข้อได้เปรียบด้านภาษีภายใต้ FTA จะเพิ่มโอกาสให้กับอุตสาหกรรมความงามเติบโตขึ้นในอนาคต ดังนั้น ผู้ประกอบการควรพิจารณาเรื่องการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA เพิ่มโอกาสขยายส่งออกและลดต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบให้กับธุรกิจ
แนวทางการจดแจ้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้แอลกอฮอล์ Ethanol
ตามที่ทางสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทยได้เข้าพบและปรึกษาข้อมูลด้านการใช้แอลกอฮอล์ Ethanol กับทางกรมสรรพสามิต ทางสมาคมฯ ได้รับการชี้แจงข้อมูลดังภาพด้านล่าง จึงขอแจ้งให้สมาชิกทุกท่านทราบ
หากสมาชิกท่านใดพบปัญหาในการขออนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Ethanol ในเครื่องสำอาง สามารถติดต่อมายังสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทยเพื่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
อย. ออกกฎหมายรองรับการปลดล็อกกัญชา กัญชง เพื่อประโยชน์ในผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สมุนไพร พร้อมให้คำปรึกษาผู้ประกอบการอย่างเต็มที่
ที่มา : เว็ปไซค์ https://www.thansettakij.com/business/484075 วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564
นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกัญชา ออกมาสะท้อนปัญหาเกี่ยวกับการแปรรูปกัญชา กัญชง เพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ยังติดขัดในเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการขออนุญาตนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า
ได้ออกกฎหมายรองรับการปลดล็อก กัญชา กัญชง ให้สามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้แล้ว กรณีการนำไปใช้ในเครื่องสำอาง กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกำหนดเงื่อนไขการใช้น้ำมันหรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชงส่วนของกัญชาส่วนของกัญชง
รวมทั้งสารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล(จากกัญชาและกัญชง)แล้วและเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค คณะกรรมการเครื่องสำอางยังได้ออกประกาศให้แสดงคำเตือนที่ฉลากของเครื่องสำอางดังกล่าวด้วย
สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร อย. ได้จัดทำประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย มีผลบังคับใช้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 โดยปลดล็อค กัญชา กัญชง ที่ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ให้สามารถนำมาใช้ในอาหาร
© Copyright 2025 สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย Website Stats