![]() |
กรุงเทพฯ 16 เม.ย.- กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ส.อ.ท. ระบุ โควิด-19 กระทบยอดส่งออกแล้วร้อยละ 5.7 ตลาดในประเทศก็ไม่น้อยไปกว่ากัน คาดตลาดรวมเครื่องสำอางปีนี้ จะลดลง 10% |
การประชุมเพื่อปรับกฎระเบียบเครื่องสำอางให้สอดคล้องกันในอาเซียน ASEAN Cosmetic Committee and related meeting ล่าสุด ครั้งที่ 29 จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซียระหว่างวันที่ 23-26 ตุลาคม 2561 สาระสำคัญที่ได้จากที่ประชุมซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบใหม่ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้นี้ มีดังต่อไปนี้
Tagetes
Tagetes flower เป็นดอกไม้ในตระกูลดาวเรืองที่นำมาใช้ในเครื่องสำอางในรูปแบบสารสกัดที่ทำให้เกิดกลิ่นหอมและใช้เป็นส่วนผสมในน้ำหอม นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เป็นสารบำรุงผิว (Skin Conditioning Agents) ในเครื่องสำอางอีกด้วย จากประกาศของ EU Regulation ฉบับที่ EC No. 2018/978 ได้กำหนดให้ Tagetes erecta flower extract และ Tagates erecta flower oil เป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง นอกจากนี้ยังได้กำหนดเงื่อนไขในการใช้ Tagetes minuta flower extract, Tagetes minuta flower oil, Tagetes patula flower extract และTagetes patula flower oil ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้แล้วล้างออกในปริมาณสูงสุดที่ 0.1% และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้แล้วไม่ล้างออกในปริมาณสูงสุดที่ 0.01% ทั้งนี้ยังมีข้อกำหนดเพิ่มเติมคือห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายและสามารถโดนแสงแดดทั้งจากธรรมชาติ และ artificial UV light เนื่องจากมีโอกาสเกิดการระคายเคืองทางผิวหนังเมื่อสัมผัสกับแสง และยังมีข้อกำหนดให้ α-terthienyl(terthiophen) ที่เป็นองค์ประกอบใน extract/oil มีปริมาณสูงสุดที่ 0.35% ที่ประชุมเครื่องสำอางอาเซียนจะมีการพิจารณาถึงระยะเวลาบังคับใช้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในการประชุมครั้งถัดไปที่ประเทศพม่า เดือนมิถุนายน 2562 สำหรับประเทศไทยนั้นอยู่ในระหว่างการรอข้อสรุปจากประชุมอาเซียนและเตรียมการออกประกาศต่อไป ภาคอุตสาหกรรมเครื่องสำอางควรเตรียมการปรับปรุงและพัฒนาสูตรเครื่องสำอางให้เป็นไปตามกฎหมายใหม่ที่จะมีการบังคับการใช้ Tagetes ในอนาคต ทั้งในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้แล้วล้างออกและไม่ล้างออกให้เป็นไปตามปริมาณสูงสุดที่กำหนด
Climbazole
บัจจุบันประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ Climbazole กรณีเป็นสารกันเสียให้ใช้ในปริมาณสูงสุดที่ 0.5% และกรณีใช้เป็นสารที่มีเงื่อนไขในการใช้หรือ Annex III สามารถใช้ในปริมาณสูงสุดที่ 2% ในแชมพู และ 0.5% ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเส้นผมแบบไม่ล้างออก ในการประชุมครั้งนี้ ASEAN Cosmetic Association ได้นำเสนอรีวิวข้อมูลความปลอดภัยจากกลุ่มประเทศ EU เรื่องการใช้และปริมาณสูงสุดใหม่ของ Climbazole ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั้งแบบที่ใช้แล้วล้างออกและไม่ล้างออกซึ่งจะแนวโน้มที่จะบังคับเป็นกฎหมายในอนาคต ขณะนี้ข้อมูลจาก EU อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ Climbazole กรณีใช้เป็นสารกันเสียให้ใช้ในปริมาณสูงสุดที่ 0.5% เฉพาะแชมพู และ 0.2 % ใน face cream, hair lotions and foot care กรณีใช้เป็นสารที่มีเงื่อนไขในการใช้ สามารถใช้ในปริมาณสูงสุดที่ 2% ในแชมพู และ 0.2% ใน face cream, hair lotions and foot care ในการประชุมครั้งถัดไปที่ประชุมจะพิจารณาถึงขอบข่ายของชนิดผลิตภัณฑ์และระยะเวลาบังคับใช้ในอนาคต
ทั้งนี้ขอให้สมาชิกติดตามความคืบหน้าและประกาศจากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาต่อไป
กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข 4 เรื่อง ได้แก่
1. เรื่องการแสดงคำเตือนที่ฉลากเครื่องสำอางที่มีวัตถุกันเสีย ประกาศเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561
2. เรื่องกำหนดวัตถุกันเสียที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ประกาศเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561
3. เรื่องชื่อวัตถุที่่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง (ฉบับที่ 3) ประกาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561
ทั้ง 3 เรื่องถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561
และ 4. เรื่องการจดแจ้งเครื่องสาอางที่ผลิตหรือนาเข้าเฉพาะเพื่อการส่งออกเท่านั้น โดยมีคุณภาพ มาตรฐาน ฉลาก หรือรายละเอียดอื่น ๆ ตามที่ผู้สั่งซื้อกาหนด ประกาศเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561
ผู้ประกอบการควรศึกษาประกาศเหล่านี้
ยูบีเอ็มเผยเทรนด์อุตสาหกรรมความงามไทยโตทวนกระแสเศรษฐกิจ ปิดตลาดปี 59 ที่ 2.6 แสนล้านบาท คาดการณ์มูลค่าปี 60 พุ่งถึง 2.8 แสนล้าน
พบว่าปัจจุบันมีธุรกิจเครื่องสำอางที่ดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศกว่า 1,800 ราย ด้วยมูลค่าทุนจดทะเบียนนิติบุคคลกว่า 11,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วยอัตราเติบโต 40% สามารถแบ่งตามพื้นที่เป็นกรุงเทพมหานคร 53.5%, ภาคกลาง 27.5% และ ภาคเหนือ 6.2% ซึ่งล้วนเป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งการค้า แหล่งวัตถุดิบ และนิคมอุตสาหกรรมทั้งสิ้น โดยในจำนวนของผู้ดำเนินกิจการทั้งหมดนี้เป็น SMEs ถึง 90%
ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังซื้อของเวียดนามนับว่าไม่เป็นรองใครในอาเซียน ด้วยประชากรกว่า 95 ล้านคนนั้น เป็นคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ วัยทำงาน (working force) ถึง 60% ความสำคัญของกลุ่มคนเหล่านี้คือ ความสามารถในการจับจ่าย และมีไลฟ์สไตล์ที่ทันสมัย ตามเทรนด์ ตามกระแสอยู่ตลอด
หนึ่งในพฤติกรรมของคนเวียดนามที่พบเห็นได้มากขึ้น คือเรื่องของการดูแลตัวเองให้ดูดี รักษาสุขภาพ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่มีความต้องการผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง และแบรนด์นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้มูลค่าของตลาดเครื่องสำอางและบำรุงผิวนำเข้าจากต่างประเทศในปีที่ผ่านมามีมูลค่าถึง 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.98 แสนล้านบาท สูงกว่าปี 2559 ถึง 3 เท่า
ประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตเครื่องสำอางที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยในปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทยมีมูลค่าการตลาดรวม ของอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สูงถึง 2.8 แสนล้านบาท
แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกเครื่องสำอาง 1.12 แสนล้านบาท และมูลค่าภายในประเทศ 1.68 แสนล้านบาท
กว่า 97% ของการส่องออกผลิคภัณฑ์เครื่องสำอาง เป็นผู้ประกอบการเครื่องสำอางรายย่อย กลุ่ม SMEs เรียกได้ว่าผู้ประกอบการเครื่องสำอาง SMEs นั้นเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเสรษฐกิจในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของไทย ให้ก้าวไกลระดับโลก รัฐบาลจึงผลักดัน และให้ความสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพเครื่องสำอางไทย ตั้งแต่ต้นทาง จนถึงปลายทาง นำนวัตกรรมเข้ามาเพิ่มศักยภาพแก่ผู้ประกอบการเครื่องสำอาง SMEsในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แตกต่าง และคงเอกลักษณ์ความเป็นไทย เช่นการนำสมุนไพรไทยกว่า 200,000 ชนิดมาประยุกต์ใช้กับการสร้างผลิตภัณฑ์ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยสร้างความโดดเด่นกับแบรนด์ไทยได้
ตลอดจนการส่งเสริมด้านการค้าขายของผู้ประกอบการเครื่องสำอาง SMEs เช่น การจัดกิจกรรมงานแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจด้านความงามที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นงาน BEYOND BEAUTY ASEAN หรืองาน ASEAN BEAUTY ทั้งหมดนั้นก็เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ของไทยแก่ผู้บริโภคทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ
อุตสาหกรรมความงามเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ตลอด 20 ปี ที่ผ่านมามีอัตราการเจริญเติบโตทั่วโลกเฉลี่ย 4.5% ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากกระแสการให้ความสำคัญเรื่องภาพลักษณ์ และการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น โดยคาดการว่าในปีพ.ศ. 2560 นี้ ตลาดสินค้าความงามทั่วโลกจะมีมูลค่ารวมกว่า 9.3 ล้านล้านบาท ส่วนในแถบอาเซียนจะมูลค่าในตลาดอุตสาหกรรมความงามกว่า 5 แสนล้านบาท โดยมีผู้นำเป็นอันดับ 1 ในตลาดเครื่องสำอางอาเซียน คือ ประเทศไทย
นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผมเป็นอันดับ 1 ของโลก
เป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอันดับที่ 12 ของโลก
และเป็นผู้ผลิตเครื่องสำอางอันดับที่ 17 ของโลก
ส่วนตลาดเครื่องสำอางในไทยมีมูลค่าปีละ 250,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องขึ้นทุกปี
เมื่อเครื่องสำอางเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ใช้เป็นประจำทุกวัน แกะรอยอุตสาหกรรมจึงเริ่มที่การใส่ใจผู้ใช้เพื่อความงามกับมาตรฐานความปลอดภัย ในการเลือกซื้อและเลือกใช้เครื่องสำอางอย่างถูกวิธี จากนั้นตามไปเจาะลึกกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ประเภทดูแลเส้นผม ภายใต้ Concept End To End Smart Eco Design ที่ใส่ใจในเรื่องของกระบวนการผลิตซึ่งมั่นใจได้ว่าสินค้าทุกชิ้นมีการตรวจสอบคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สู่โครงการ Utility โดยมีการบำบัดน้ำเสียให้สามารถหมุนเวียนน้ำนำกลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้งเพื่ออุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปิดท้ายพาไปพบกับเรื่องราวดีๆ ด้วยเครื่องเล่นรีไซเคิลจากขวดผลิตภัณฑ์แชมพู โดยการนำขวดแชมพูที่ไม่ใช้แล้วแต่สภาพยังดีอยู่มารีไซเคิลเป็นเครื่องเล่นให้กับเด็กพิเศษ ในโครงการสนามเด็กเล่นรีไซเคิล 88 สนามเพื่อเฉลิมพระเกียรติ 88 พรรษา เพื่อมอบรอยยิ้มสร้างความสุขให้กับเหล่าเด็กๆที่โรงเรียนปัญญาวุฒิกร
© Copyright 2023 สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย Website Stats